• โรงเรียนสวนศรีวิทยา
สถานะออฟไลน์
ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน

                   โรงเรียนสวนศรีวิทยา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 280 ถนนหลังสวน ตำบลหลังสวน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร รหัสไปรษณีย์ 86110 ตามหลักฐานของทางราชการระบุว่าก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2442 โดยอาศัยโรงธรรมของวัดโตนดเป็นสถานที่เรียนใช้ชื่อในระยะเริ่มก่อตั้งว่า "โรงเรียนอุดมวิทยากร" ต่อมาได้ย้ายจากวัดโตนดมาตั้งอยู่ในสถานที่ปัจจุบันและเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนหลังสวน "สวนศรีวิทยา" ภายหลังได้รับโอน โรงเรียนสตรีหลังสวน มารวมเข้าด้วยกัน โดยจัดเป็นโรงเรียนสหศึกษาและเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "โรงเรียนสวนศรีวิทยา" ตราบเท่าทุกวันนี้


กำเนิดโรงเรียนอุดมวิทยากร

            ในราวปี  พ.ศ. 2442  พระครูธรรมวิจิตรอุดมปัญญาปรีชามุนี (ยัง)  เจ้าอาวาสวัดโตนด และเจ้าคณะจังหวัดหลังสวนได้มรณภาพลงในระหว่างการเดินทางกลับจากนมัสการพระธาตุชะเวดากอง  ที่กรุงย่างกุ้ง  ประเทศพม่า  เนื่องจากเรือที่โดยสารมาอับปางกลางทะเลอันดามัน  ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกท่านว่า  พระครูตกเล

             ต่อมาศิษย์ของท่าน  คือ  เจ้าคุณธรรมารามคณีสุปรีชา  สังฆปาโมกข์ (หนู อชิโต)  ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดโตนดสืบแทนต่อมา และได้นำอัฐิของ พระครูธรรมวิจิตรอุดมปัญญาปรีชามุนี (ยัง) มาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้โดยสร้าง โรงทิม (ต่อมาเรียกกันว่า "โรงธรรม") ซึ่งเป็นโรงประกอบพิธีขนาดใหญ่มีระเบียงลดหลั่นกันหลายชั้น ทำด้วยไม้อย่างถาวรขนาดกว้างประมาณ 10 วา ยาวประมาณ 10 วา หลังจากเสร็จจากการทำบุญอัฐิแล้ว เจ้าคุณธรรมโกษาจารย์ ซึ่งมาร่วมงานทำบุญอัฐินี้ด้วยได้ปรารภว่า หลังสวนนี้สมบูรณ์ดีทุกอย่าง แต่ยังขาดโรงเรียน” ก็เลยให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นที่โรงธรรมนั้นและได้เปิดทำการสอนเมื่อ พ.ศ. 2442 โดยมี เจ้าคุณศาสนดิลก เจ้าคณะมณฑลชุมพร ในฐานะตัวแทนของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้มาตรวจราชการที่จังหวัดหลังสวน และเป็นประธานในพิธีเปิดโรงเรียน เจ้าคุณศาสนดิลก ได้ให้นักเรียนเขียนตามคำบอกในวันทำพิธีเปิดโรงเรียนว่า โรงเรียนให้ชื่อว่า อุดมวิทยากร โรงเรียนจึงมีชื่อว่า "โรงเรียนอุดมวิทยากรตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

             โรงเรียนอุดมวิทยากร เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมูลถึงชั้นประถมปีที่ 3 เป็นสหศึกษา นักเรียนในสมัยนั้นมีทั้งพระ สามเณร และคฤหัสถ์ อายุประมาณ 15 – 25 ปี และมักจะเป็นผู้ที่รู้หนังสือมาแล้ว ครั้น พ.ศ. 2456 ได้เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 – 3 และชั้นมัธยมปีที่ 1 – 3 โดยจัดให้นักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 – 3 เรียนที่ศาลาเล็กด้านในหลังวัด และชั้นมัธยมปีที่ 1 – 3 เรียนที่ศาลาใหญ่ด้านนอกหน้าวัด เมื่อนักเรียนหญิงและนักเรียนชายมาเรียนรวมกันซึ่งล้วนก็เป็นหนุ่มสาว จึงได้จัดซื้อบ้านสองชั้นพร้อมที่ดินของ ขุนเฟื่องวิธีหัด ศึกษาธิการจังหวัดหลังสวนในสมัยนั้น ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับวัดโตนด ให้นักเรียนหญิงใช้เป็นตึกเรียนและเรียกกันติดปากว่า โรงเรียนหญิง และโรงเรียนอุดมวิทยากร ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนตัวอย่างอุดมวิทยากร สอนนักเรียนชาย และ โรงเรียนอุดมวิทยากรอนุกูลสตรี (โรงเรียนหญิง) สอนนักเรียนหญิง โดยที่โรงเรียนทั้งสองตั้งอยู่คนละฟากของถนนแต่มีป้ายโรงเรียนว่า โรงเรียนตัวอย่างอุดมวิทยากร อยู่ตรงบริเวณทางเข้าโรงเรียนชาย

             ต่อมาในราวปี พ.ศ. 2460 เปิดสอนชั้นประถมปีที่ 1 – 5 และชั้นมัธยมปีที่ 1 – 6 สาเหตุที่มีคำว่า ตัวอย่าง” นำหน้าป้ายชื่อโรงเรียนน่าจะเป็นเพราะว่าในสมัยนั้นโรงเรียนต่างๆ ก่อตั้งขึ้นหลายโรงจึงทำให้ โรงเรียนอุดมวิทยากร เป็นตัวอย่างแก่โรงเรียนอื่นๆ ดังจะเห็นได้จากมีเจ้าหน้าที่ของจังหวัด เช่น ศึกษาธิการจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัดมาเยี่ยมชมโรงเรียนอยู่เสมอ


ย้ายโรงเรียนจากวัดโตนดมาตั้งในสถานที่ปัจจุบัน และเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนหลังสวน 
สวนศรีวิทยา

            ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475 จังหวัดหลังสวน ถูกยุบเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดชุมพร ทำให้เรือนจำขังนักโทษถูกยุบไปด้วยเพราะได้ย้ายนักโทษไปที่เรือนจำจังหวัดชุมพร อาคารและบ้านพักในเรือนจำถูกรื้อไปด้วยยังคงเหลืออยู่แต่เรือนนอนของนักโทษชายกับเรือนนอนของนักโทษหญิง ขุนวิชาการพิสิฎฐ์ (เนื้อม ถาวรบุตร) ครูใหญ่โรงเรียนตัวอย่างอุดมวิทยากร ได้นำเงินที่ รองอำมาตย์ตรี ขุนบูรณวุฒิ (มี สารเกษตริน) ครูใหญ่คนที่ ของโรงเรียนอุดมตัวอย่างวิทยากร ที่ได้จัดชกมวยไทยการกุศลประจำปีมาซื้อที่ดินและเรือนนอนนักโทษจากกรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย เป็นเงิน 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน) โดยจ้างช่างชาวจีนจากจังหวัดชุมพรด้วยเงินหลวงแผ่นดิน (สมัยนั้นยังไม่มีงบประมาณประจำปี) ให้รื้อฝาและกั้นห้องเรือนนอนนักโทษชายชั้นบนได้ ห้อง และห้องที่เป็นห้องครูใหญ่อีก ห้อง ทำบันไดกลาง ต่อมาทำมุขหลังคาคร่อมบันได ทำลูกกรงด้านหน้า ส่วนชั้นล่างปล่อยโล่งตลอด และทาสีใหม่ ส่วนเรือนนอนนักโทษหญิงดัดแปลงเป็นบ้านพักภารโรง ในปีเดียวกันนั้นเองได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนหลังสวน สวนศรีวิทยา


รับโอน โรงเรียนสตรีหลังสวน มารวมจัดเป็นสหศึกษา

             ในปี พ.ศ. 2509 โรงเรียนหลังสวน สวนศรีวิทยา ได้รับโอน โรงเรียนสตรีหลังสวน มารวมจัดเป็นสหศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2509 แต่ได้รับการโอนจริงเมื่อวันที่ มิถุนายน พ.ศ. 2509 ถึงแม้ว่าจะโอนมารวมกันแล้วก็ตามแต่เนื่องจากอาคารเรียนเดิมไม่เพียงพอที่จะเปิดทำการสอนในบริเวณเดียวกันได้จึงต้องอาศัยอาคารเรียนของ โรงเรียนสตรีหลังสวน (เดิม) เป็นสถานที่เรียนไปพลางๆ ก่อน


เปลี่ยนชื่อจาก โรงเรียนหลังสวน 
สวนศรีวิทยา” เป็น โรงเรียนสวนศรีวิทยา

             ในวันที่ 5 มีนาคม 2514 โรงเรียนได้รับหนังสือ ที่ ชพ 52/1457 ลงวันที่ มีนาคม 2514 จากนายอำเภอหลังสวนแจ้งว่ากระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ แผนกวิทยาศาสตร์ จำนวน ห้องเรียน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2514 เป็นต้นไป และให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจาก โรงเรียนหลังสวน สวนศรีวิทยา เป็น โรงเรียนสวนศรีวิทยา

             ในปีการศึกษา 2541 โรงเรียนได้รับบริจาคอาคารหอสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก (อาคารศรีสุบัติ) ราคา 6.5 ล้านบาท โดยเมื่อวันที่ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 คุณขจรเดช คุณจำนูน (ศรีสุบัติ) จารุจินดา ผู้บริจาค 3.5 ล้านบาท และนายแพทย์ยงยุทธ แพทย์หญิงสุนันทา (ศรีสุบัติ) พลอยส่องแสง ผู้บริจาค ล้านบาท ได้ทำสัญญาก่อสร้างอาคารหอสมุดดังกล่าว การก่อสร้างแล้วเสร็จและทำพิธีรับมอบอาคารเมื่อวันที่ ตุลาคม พ.ศ. 2541 และเปิดใช้งานในปีการศึกษา 2542

             ในปีการศึกษา 2542 เป็นปีที่โรงเรียนสวนศรีวิทยาก่อตั้งครบ 100 ปี คณะศิษย์เก่าร่วมกับสมาคมผู้ปกครองและครูสวนศรีวิทยา ชุมชนชาวหลังสวน ครูและบุคลากรโรงเรียนสวนศรีวิทยาได้ร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลอง "100 ปี สวนศรีเพื่อหารายได้มาพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน จัดทำระบบ Internet, CD-ROM และระบบห้องสมุดอัติโนมัติ และในโอกาสเดียวกันนี้ทางคณะศิษย์เก่ารวมทั้งผู้ที่มีจิตศรัทธาได้ร่วมบริจาคเงินเพื่อจัดสร้างรั้วโรงเรียนใหม่อีกด้วย โดยดำเนินก่อสร้างในปีการศึกษา 2543 ประตูโรงเรียนเป็นอัลลอยด์สวยงาม แต่ละช่องรั้วเป็นเสาปูนแทรกด้วยโครงสแตนเลสสวยงาม มูลค่าบริจาคแต่ละช่องรั้วเป็นเงิน 11,500 บาท